วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2563

5 เคล็ดลับ ลดความ “หิว” กินน้อยก็อิ่มได้


เชื่อว่าหลายคนไม่อยากเป็นคนอ้วน ไม่อยากเป็นคนกินเก่ง อยากกินน้อยๆ ก็อิ่มแล้ว แต่ก็ยากที่จะหักห้ามใจให้ไม่กิน เพราะมันยังไม่อิ่ม ก็เลยต้องกินจนกว่าจะอิ่ม


อาหารลดน้ำหนัก สูตรอาหารลดน้ำหนักตอนเช้า สูตรอาหารลดน้ำหนักตอน ...


แน่นอนว่าถ้ากินเยอะเกินไปมันก็ต้องอ้วนเป็นธรรมดา เพราะหากคุณกินอาหารที่มีพลังงานมากกว่าที่ร่างกายของคุณเผาผลาญได้ในแต่ละวัน ก็ย่อมต้องเหลือพลังงานสะสมจากอาหารมากองไว้ตามพุง ต้นขา ต้นแขน สะโพก ฯลฯ เป็นชั้นไขมันหนาๆ ที่นอกจากจะทำให้เราต้องเปลี่ยนไซส์เสื้อผ้าแล้ว เราอาจจะเสี่ยงโรคภัยต่างๆ ที่ตามมาได้ด้วย



เคล็ดลับ ลดความ “หิว” กินน้อยก็อิ่มได้


  1. กินอาหารให้ตรงเวลา

แน่นอนว่าการอดมื้ออาหารไม่ใช่ทางออกสำหรับคนอยากผอม เพราะจะทำให้คุณหิวมากกว่าเดิม โดยเฉพาะการอดอาหารเย็น ที่เป็นมื้อที่ทำให้คุณหิวยามค่ำคืนได้ สิ่งที่คุณควรทำไม่ใช่การอดมื้ออาหาร คือการกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ แต่เลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำในมื้อเย็นซึ่งเป็นมื้อที่ควรต้องการพลังงานจากอาหารน้อยที่สุด เพราะใกล้เวลาเข้านอนแล้วนั่นเอง และใครที่ออกกำลังกายตอนเย็น ยิ่งต้องกินมื้อเย็นเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อการออกกำลังกายด้วย ยิ่งคุณรอให้ตัวเองหิวมากๆ แล้วกินทีเดียว รับรองว่าคุณจะหิวจนกินเยอะกว่าเดิม เยอะกว่าความจำเป็นแน่นอน

  1. เคี้ยวอาหารให้ช้าลง

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น คือการเพิ่มเวลาในการเคี้ยวอาหารต่อคำให้มากขึ้น สังเกตได้ว่าคนที่กินอาหารเร็ว เคี้ยวอาหารไม่กี่ครั้งก็กลืน จะกินอาหารได้มากกว่า เพราะอาหารยังไม่ทันลงถึงท้องก็กินคำต่อไปเรื่อยๆ แต่หากเราใช้เวลาในการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ค่อยๆ กินค่อยๆ เคี้ยว เมื่อถึงเวลาที่อาหารตกถึงท้องในปริมาณที่เหมาะสม เราจะรู้สึกอิ่มเอง

  1. รับประทานอาหารในภาชนะเล็กๆ

แทนที่จะใช้จาน หรือชามใหญ่ๆ ตักข้าวตักอาหารจนเต็มจาน ลองเลือกภาชนะใส่ข้าวใส่อาหารให้เล็กลง เพื่อจำกัดปริมาณอาหารไม่ให้เรากินเยอะเกินไป

  1. ตั้งใจรับประทานอาหารแต่เพียงอย่างเดียว

การที่เรากินข้าวไปด้วย ทำกิจกรรมอย่างอื่นไปด้วย เช่น กินไปดูหนังไป เล่นมือถือไป หรือนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ จะทำให้เรากินอาหารอย่างเพลิดเพลินจนกินได้เรื่อยๆ ไม่หยุด และเราก็ไม่รู้ตัวว่าเราอิ่มแล้ว เราควรหยุดกิน เราอาจเผลอกินจนเกินความจำเป็นโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นนอกจากจะต้องตักอาหารในปริมาณที่คิดว่าเหมาะสม แล้วกินเท่านั้นโดยไม่เติมอาหารต่อแล้ว เราก็ควรนั่งกินอาหารอย่างตั้งใจ กินอาหารอย่างเดียวโดยไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย

  1. เน้นอาหารที่ย่อยได้นาน

อาหารที่ทำให้กระเพาะอาหารเราย่อยไปนานๆ จะทำให้เรารู้สึกอิ่ม หรืออยู่ท้องได้นาน ได้แก่ อาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต รวมถึงโปรตีนอย่าง ไข่ ปลา และถั่ว ด้วย หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ทำให้หิวไว เพราะย่อยและดูดซึมได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาล เบเกอรี่ต่างๆ เป็นต้น

หากอยากควบคุมน้ำหนัก อย่าลืมควบคุมอาหารไม่ให้มีพลังงานเยอะจนเกินความจำเป็นที่ร่างกายต้องใช้ ลดคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เพิ่มอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ เน้นโปรตีนไขมันต่ำ และกินอาหารที่มีไขมันดี อย่าง ปลาทะเล ไข่ น้ำมันมะกอก ฯลฯ และออกกำลังกายเป็นประจำ